วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานภาษาไทยสะกดคำ





นางสาวจันจิรา  ดอกพอง
นางสาวจินตนา  บุษภาค
นางสาวนาตยา  วงษ์ขันธ์






โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการศึกษาระบบสื่อทางไกล
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2557
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนพระจันทร์ศรีสุข  อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุรินทร์






โครงงานภาษาไทยสะกดคำ









นางสาวจันจิรา  ดอกพอง
นางสาวจินตนา  บุษภาค
นางสาวนาตยา  วงษ์ขันธ์








โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการศึกษาระบบสื่อทางไกล
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2557
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนพระจันทร์ศรีสุข  อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุรินทร์


ชื่อ                                  :   นางสาวจันจิรา  ดอกพอง
                                           นางสาวจินตนา  บุษภาค
                                           นางสาวนาตยา  วงษ์ขันธ์
ชื่อเรื่อง                         โครงงานภาษาไทยสะกดคำ
รายวิชา                         การศึกษาระบบสื่อทางไกล
กลุ่มสาระการเรียนรู้     ภาษาไทย
ครูที่ปรึกษา                  ว่าที่ ร..บุญโต  นาดี
ปีการศึกษา                   : 2557


บทคัดย่อ

โครงงานภาษาไทยสะเกดคำมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อแก้ปัญหาการเขียนภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โดยใช้แบบฝึกหัดเขียนไทย  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำก่อนและหลังการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
การดำเนินการนั้นผู้จัดทำได้ทดสอบนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างก่อนการฝึกแบบการเขียนสะกดคำ  ให้นักเรียนฝึกแบบเขียนสะกดคำ  ทั้ง  ชุด  จำนวน  10  ครั้ง ทดสอบนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างหลังการฝึกแบบการเขียนสะกดคำนำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาข้อสรุป
ผลการศึกษาพบว่าการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเขียน
สะกดคำภายหลังการทดลองสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำก่อนทดลอง  ร้อยละ  56  อยู่ในเกณฑ์พอใช้  เพิ่มขึ้น  จากเดิม  ร้อยละ  24 



กิตติกรรมประกาศ
         
              โครงงานภาษาไทยสะกดคำสำเร็จลงได้ด้วยความร่วมมือของเพื่อนและนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระจันทร์ศรีสุข  อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุริทร์ ที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ  ผู้จัดทำขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน  รวมทั้งฝ่ายวิชาการของโรงเรียนที่ได้ให้การสนับสนุนให้พวกเราได้ทำโครงงานนี้ เพื่อให้เล็งเห็นถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ผู้จัดทำขอแสดงความขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้
                                                                                                    นางสาวจันจิรา  ดอกพอง
                                                                                                                      นางสาวจินตนา  บุษภาค
                                                                                                                      นางสาวนาตยา  วงษ์ขันธ์
                                 22   กุมภาพันธ์ 2556


สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                               หน้า
บทคัดย่อ ..........................................................................................................................................ก
กิตติกรรมประกาศ ...........................................................................................................................ข
สารบัญตาราง ..................................................................................................................................ค
บทที่ 1  บทนำ.................................................................................................................................  3
1.  แนวคิดที่มาของโครงงาน.......................................................................................................... 3
2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน……………….....………………………………....……………….3
3.   ขอบเขตของโครงงาน................................................................................................................4
4.   วิธีการดำเนินการ........................................................................................................................4
5.  ประโยชน์ที่ได้รับ........................................................................................................................4
6.    นิยามศัพท์.................................................................................................................................4
บทที่  2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง..............................................................................................................5
1.   การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ..................................................................10
2.   การจัดการเรียนการสอนแบบประสานห้าแนวคิดหลัก……………………………………….17
3.   ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.......................................................................................23
บทที่  3  วิธีการดำเนินงานโครงงาน……………………………………………………...………26
1.    วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ………………………………………………………………………26
2.     ขั้นตอนการดำเนินงาน............................................................................................................26
บทที่ 4   ผลการดำเนินงาน……………………………………………………………………….27
บทที่ 5  สรุป  อภิปรายและข้อเสนอแนะ…………………………………………………………30
ข้อเสนอแนะในด้านการสอน.........................................................................................................30
ข้อเสนอแนะในด้านการวิจัยครั้งต่อไป...........................................................................................32



สารบัญตาราง
                                                                                                            หน้า
ตารางที่ 1  แสดงคะแนนที่นักเรียนทดสอบจากคะแนนเต็ม  20  คะแนน…....…………………27
ตารางที่ 2 แสดงคะแนนที่นักเรียนสอบได้จากคะแนนเต็ม  20  คะแนน…….…………...……..27




 บทที่ 1
บทนำ

1.แนวคิดที่มาของโครงงาน
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้ อย่างสันติสุข   และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง  ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี  ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า      ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญในรายวิชาภาษาไทย คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งทักษะการเขียนเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการเรียนขั้นพื้นฐาน หากผู้เรียนไม่สามารถเขียนสะกดคำให้ถูกต้องได้ จะส่งผลกระทบกับนักเรียนในเรื่องการเรียนแต่ละวิชา จึงเห็นควรว่าจะมีการทำแบบฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการเขียนสะกดคำ เพื่อจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
captivate คือ โปรแกรมสร้างสื่อการเรียนการสอนการนำเสนอที่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้อย่างดีเยี่ยมจุดเด่นคือ สร้างแบบจำลองการใช้ซอฟแวร์ซึ่งผู้ใช้งานสามารถทำตามสื่อการสอนได้ทันที  นอกจากนี้ยังสามารถสร้างแบบทดสอบให้คะแนนและประเมินผลได้ในตัว
                ผู้จัดทำได้คิดสื่อที่จะนำมาสอนนั้นคือ cai สื่อการเรียนการสอน จะสอนในเรื่องของการสะกดคำให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

2.วัตถุประสงค์
1.  เพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะการเขียนและสะกดคำได้ถูกต้อ
          2.  เพื่อให้นักเรียนใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
3.ขอบเขตของโครงงาน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระจันทร์ศรีสุข  อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุรินร์

4.วิธีการดำเนินงาน
1. ประชุมเพื่อนๆภายในกลุ่มชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจให้เพื่อนทราบ
2. สำรวจ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
3. วิเคราะห์ข้อมูลหรือนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลเพื่อดำเนินการโครงงาน
4. วางแผนการดำเนินงาน ปฎิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้
5. ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (KM)
6. ติดตาม ประเมินผลความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานโครงการ
7. สรุปผลโครงการ รายงานผลการดำเนินงานกับอาจารย์ผู้สอน

5.ประโยชน์ที่ได้รับ
1.  สามารถพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน
2.  นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น  เนื่องจากสื่อมีความน่าสนใจ
3.  สามารถเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน

6.นิยามศัพท์
1.สื่อการสอน  หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะ
ในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
2.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้
3. สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ คน สัตว์ สิ่งของ หรือแนวความคิดที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มประสบการณ์ หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง


                                                                                      บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

โครงงานภาษาไทยสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนพระจันทร์ศรีสุข  อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุรินทร์  ได้ศึกษาและรวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.  การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                1.1  ปรัชญาในการจัดเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                วัฒนาพร   ระงับทุกข์  ( 2540 : 10-12 )  ได้รวบรวมปรัชญาในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   ดังนี้
                1.  ปรัชญาพิพัฒนนิยม  (  Progressivism  )  มองว่าการศึกษาจะต้องพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย   อารมณ์  สังคม  อาชีพ  และสติปัญญา   สิ่งที่เรียนควรเป็นประโยชน์สัมพันธ์   สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของผู้เรียนให้มากที่สุด    รวมทั้งส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน  และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม   เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข   ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม  ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
                ครูในปรัชญานี้   ทำหน้าที่เตรียม  แนะนำและให้คำปรึกษาเป็นหลักสำคัญ   ครูอาจจะเป็นผู้รู้  แต่ไม่ควรไปกำหนดหรือกะเกณฑ์  ( Dictate )  ให้เด็กทำตามอย่าง    และควรเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เข้าใจและเห็นจริงด้วยตนเอง   สำหรับผู้เรียน   ปรัชญาสาขานี้ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมาก  เพราะถือว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง    หรือลงมือทำด้วยตนเอง      (  Learning  by  doing  )  และได้ทำงานร่วมกัน  (  Participation )  เพื่อให้การเรียนการสอนตรงตามความต้องการ   เหมาะสมกับความถนัดและความสามารถของผู้เรียนมากขึ้น   ในขณะเดียวกัน  ก็อยู่ร่วมกับคนอื่นได้มากขึ้นด้วย
                2.  ปรัชญาปฏิรูปนิยม  (  Reconstructionism )  จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในแนวทางนี้คือการศึกษาจะต้องเป็นไปเพื่อการปรับปรุง    พัฒนา   และสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีและเหมาะสมกว่าเดิม
                ครูในปรัชญานี้จะต้องเป็นนักบุกเบิก   เป็นนักแก้ปัญหา   สนใจและใฝ่รู้ในเรื่องของสังคม  และปัญหาสังคมอย่างกว้างขวางและเอาจริงเอาจัง   ในขณะเดียวกันก็ต้องสนใจในวิชาการควบคู่กันกันไป  ครูจะต้องมีทักษะในการรวบรวม   สรุป  และวิเคราะห์ปัญหาให้ผู้เรียนเห็นได้    ในขณะเดียวกันก็แนะนำให้ผู้เรียนศึกษาทำความเข้าใจเรื่องของสังคมรอบตัวได้   ลักษณะที่สำคัญของครูในปรัชญานี้อีก   มีความเป็นประชาธิปไตย   ครูไม่ใช่ผู้รู้คนเดียว   ไม่ใช่ผู้ชี้ทางแต่เพียงคนเดียว   แต่ควรให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันคิดพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาต่าง  ๆ  และจะต้องเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
                ผู้เรียนในปรัชญากลุ่มนี้แตกต่างไปจากปรัชญาพิพัฒน์นิยมอยู่มาก    ตรงที่จะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองน้อยลง   แต่เห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น    เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม   เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต   ผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนให้รู้จักเทคนิคและวิธีการต่างๆ  ที่จะทำความเข้าใจและแก้ปัญหาของสังคม  ในแนวทางของประชาธิปไตย
                3.  ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม  (  Existentialism  )       ปรัชญาการศึกษานี้  เห็นว่าในสภาวะของโลก  ปัจจุบันมีสรรพสิ่งหรือทางเลือกมากมายเกินความสามารถที่มนุษย์เราจะเรียนรู้   จะศึกษา   และจะมีประสบการณ์ได้ทั่วถึง     ฉะนั้นมนุษย์เราควรจะมีสิทธิหรือโอกาสที่จะเลือกเรียนหรือศึกษาสรรพสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวของตัวเองมากกว่าที่จะให้ใครมาป้อนหรือมอบให้
                กระบวนการเรียนการสอนยึดหลักให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรู้จักตนเอง    โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นโดยใช้คำถามนำไปสู้เป้าหมายที่ผู้เรียนแต่ละบุคคลต้องการ   ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
                4.  ปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธศาสนา  (  Buddhistisc   Philosophy    of    Education  )  เป็นปรัชญาที่อาศัยหลักไตรสิกขา    คือ  ศีล    สมาธิ   ปัญญาในการอธิบายเรื่องของชีวิตโลก   และ         ปรากฏการณ์ต่าง ๆ  โดยเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีปัญหา  ไม่มีตัวตน    และไม่มีอะไรที่ยั่งยืนโดยไม่เปลี่ยน    ทั้งยังเชื่อว่า    มนุษย์เกิดมาตามแรงกรรม  ซึ่งรวมทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว  (  Innately   good   and   bad  )  กรรมและการกระทำของมนุษย์เกิดขึ้นจากตัณหาหรือกิเลสซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์      แต่มนุษย์มีศักยภาพที่จะสามารถขจัดกิเลสและควบคุมพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในแนวทางที่ดี    จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน   จะมุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง  เรียนรู้ด้วยตนเอง

 

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

วัฒนาพร     ระงับทุกข์   ( 240 : 19-20 ) ได้รวบรวมแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ไว้ดังต่อไปนี้
                อัจฉรา   วงศ์โสธร    กล่าวว่า   การเรียนที่มีผู้เรียนเป็นศุนย์กลางของกระบวนการเรียนการสอนนั้น   ครูผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้   ช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้   โดยการเตรียมการด้านเนื้อหา    วัสดุอุปกรณ์   สื่อการเรียนต่าง  ๆ    ให้เหมาะสมกับผู้เรียน   ตลอดจนเป็นผู้คอยสอดส่อง   สำรวจในขณะผู้เรียนฝึก  และให้ข้อมูลป้อนกลับ  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปรับปรุงตนเองและเกิดพัฒนาการขึ้น
                 สงบ   ลักษณะ   กล่าวว่า   การจัดการเรียนการสอนที่นักเรียนได้รับการยอมรับนับถือในการเป็นเอกัตตบุคคล     ได้เรียนด้วยวิธีที่เหมาะสมกับความสามารถ     ได้เรียนสิ่งที่สนใจ   ต้องการหรือประโยชน์    ได้ปฏิบัติตากระบวนการเพื่อการเรียนรู้   ได้รับการเอาใจใส่   ประเมิน   และช่วยเหลือเป็นรายบุคคล   และได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ  และสำเร็จตามอัตภาพ
                โกวิท     ประวาลพฤกษ์  กล่าวว่า  กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร   หมายถึง   กระบวนการใดๆ  ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการ  เช่น   กระบวนการกลุ่มทักษะ    กระบวนการ  ขั้น  กระบวนการสร้างความตระหนัก   กระบวนการสร้างเจตคติ
                โกวิท     วรพิพัฒน์    กล่าวว่า   การเรียนการสอนที่พึงประสงค์    หมายถึง  กระบวนการพัฒนาให้ผู้เรียนคิดเป็น    ทำเป็น   และแก้ปัญหาเป็น
                 ทิศนา      แขมมณี     ได้เสนอหลักในการจัดเรียนการสอน ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  ซึ่ง  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรมีคุณสมบัติดังนี้
ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนในกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง  ( construct  )  ความรู้ด้วย
ตนเอง     ทำความเข้าใจ    สร้างความหมายของสาระข้อความรู้ให้แก่ตนเอง   ค้นพบข้อมูลความรู้ด้วยตนเอง
                2.  ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์  ( Interaction  )  ต่อกันและได้เรียนรู้จากกันและกันได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้  ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                3.  ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาท  มีส่วนร่วม  (  Participation  )  ในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด
                4.  ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  “  กระบวนการ “ (  process  )   ควบคู่ไปกับ  “  ผลงาน  “  ( Product  )
                5.  ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง   (  Application  )  วิเศษ            ชินวงศ์
( 2544  :  35  )  ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
                1.  สมองของมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงสุด     ผู้เรียนต้องอาศัยระบบประสาทสัมผัส   คือ   ตา   หู   จมูก   ลิ้น  กาย   ใจ    กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  ผู้สอนต้องสนใจและให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมอง  (  Head  )  จิตใจ  (  Heart  )   และสุขภาพองค์รวม 
(  Health  )
                2.  ความหลากหลายของสติปัญญา    หรือพหุปัญญา   จัดกระบวนการเรียนรู้ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมศักยภาพความเก่ง    ความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล   เพื่อให้แต่ละคนได้พัฒนาความถนัด   ความเก่งตามศักยภาพของตน
                3.  การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ตรง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  วิเศษ    ชินวงศ์.    2544    :   35   )  ได้รวบรวมแนวคิดทางทฤษฏีการเรียนรู้และเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้     ดังนี้
                1.  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล   ให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มความสามารถทั้งด้านความรู้   จิตใจ   อารมณ์   และทักษะต่าง  ๆ
                2.  ลดการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาลง    ผู้เรียนกับผู้สอนควรมีบทบาทร่วมกันใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   ในการแสวงหาความรู้   ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตจริง    เรียนรู้ความจริงในตนเองและความจริงในสิ่งแวดล้อมจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
                3.  กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง   ครูทำหน้าที่เตรียมการจัดสิ่งเร้า   ให้คำปรึกษา   วางแนวกิจกรรม   และประเมินผล
และนงเยาว์       แข่งเพ็ญแข  ( 2540    :   35  )    กล่าวว่า   การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้    จะต้องปรับเปลี่ยนอย่างจริงจังโดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ     เน้นการคิด    การวิเคราะห์    การวิจัย    สร้างองค์ความรู้ได้  และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                นอกจากนี้    มีนักการศึกษาท่านอื่น  ๆ  ที่ให้แนวคิดเกี่ยวกับหลักในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังต่อไปนี้
                ดอนน่า       แบรด์    และพอล    กินนิส   (  Brandes   and   Ginnis.  1988  :  163  )   กล่าวว่า  การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   คือ  ระบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ   ด้วยความเชื่อที่ว่า  มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเอง ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมและรับผิดชอบการเรียนรู้ของตน
                แฮลมัท     แลงค์   (  Lang.  1995  :  148  ) และคนอื่น  ๆ  ได้เสนอหลักในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   ว่าเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาครบถ้วน    ด้วยวิธีการของแต่ละบุคคลที่อาจแตกต่างกันไปเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น  และมีปฏิสัมพันธ์
ซึ่งกันและกัน
                แมกซี่      ดิสโคลส์  (  Driscoll.  1994  :  78  )    มองการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ    กล่าวว่า   ผู้เรียนมิได้เป็นเพียงผู้รับการเรียนการสอนที่ผู้อื่นออกแบบให้เท่านั้น   แต่พวกเขาจะต้องเข้าร่วมอย่างกระตือรือร้น   ในการกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียน   และวิธีการที่ความต้องการเหล่านั้นจะสัมฤทธิ์ผลด้วย
                เมื่อประมวลแนวคิดของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น   จะเห็นว่า  แนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ    คือ   แนวทางในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน   โดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญในการพัฒนา   ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการ   ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้  และการลงมือปฏิบัติ  ผู้เรียนได้เรียนกระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน  ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองและสามารถแก้ไขปรับปรุงตนเองและเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ 
 
หลักการในจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วัฒนา          ระงับทุกข์     (  2542  :  3-4  )   ได้เสนอหลักการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ   ดังนี้
                1.  ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน    ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้   ครูมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้   และให้บริการด้านความรู้แก่ผู้เรียน    ผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่การเลือกการวางแผนสิ่งที่ตนจะเรียน   หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือก  และจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ด้วยการศึกษาค้นคว้า   รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
               2.  เนื้อหาวิชามีความสำคัญ   และมีความหมายต่อการเรียนรู้ในการออกแบบ   กิจกรรมการเรียนรู้ปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วยเนื้อหาวิชา  ประสบการณ์เดิม  และความต้องการของผู้เรียน    การเรียนรู้ที่สำคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน  เนื้อหา  และวิธีที่ใช้สอน  เทคนิคการสอน  )
  3.  การเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จ   หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้  ผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียน    หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  ได้ทำงานร่วมกับเพื่อน  ๆ  ได้ค้นพบข้อคำถามและคำตอบใหม่  ๆ  สิ่งใหม่ ๆ  ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่  ๆ ที่เกิดขึ้น  รวมทั้งการบรรลุผลสำเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง
                4.  สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน    การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริม  ความเจริญงอกงาม   การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่   การปรับปรุงการทำงาน  และการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล   สัมพันธภาพที่เท่าเทียมกัน     ระหว่าสมาชิกในกลุ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เรียน
                5.  ผู้เรียนได้เห็นความสามารถของตนในหลาย ๆ ด้าน    การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นความสามารถของตนในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป  ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและควบคุมตนเองได้มากขึ้น    สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น    มีวุฒิภาวะสูงมากขึ้น    ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่าง  ๆ  มากขึ้น
                6.  ผู้เรียนได้พัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้หลาย  ๆ ด้านพร้อมกันไป   การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผู้เรียนหลาย  ๆ ด้าน   คุณลักษณะด้านความรู้   ความคิด     ด้านการปฏิบัติและด้านอารมณ์    ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
                7.  ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและเป็นผู้ให้บริการความรู้       ในการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ     ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน   เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่าของผู้เรียน   และสามารถค้นคว้าจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน   สิ่งที่สำคัญที่สุดคือครูจะต้องเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้เรียน  เป็นกัลยาณมิตรของผู้เรียน
                จากหลักการดังกล่าว   สรุปได้ว่า    การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   คือ  ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง    การเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน  เนื้อหา  และวิธีที่ใช้สอน 
เทคนิคการสอน  )   การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน     และผู้เรียนได้เห็นความสามารถของตนเองพร้อมกับได้พัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ในหลาย  ๆ ด้านไปพร้อม  ๆ กัน    ซึ่งครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกเป็นผู้ให้บริการความรู้แก่เด็ก
หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
 (  วัฒนาพร   ระงับทุกข์  ,   2540  : 21  )  เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างได้ผล  การจัดประสบการณ์เรียนรู้ควรยึดหลักต่อไปนี้
                                1.3.1.1   ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง     เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างทั่วถึง    และมากที่สุดเท่าที่จะทำได้   การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทำจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมและกระตือรือร้นที่จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา    และรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน

                                1.3.1.2   ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ    โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสไปปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มได้พูดคุย   ปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน   ข้อมูลต่าง  ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น   และการเรียนรู้จะปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ดี
                                1.3.1.3   ยึดการค้นพบด้วยตนเอง   เป็นวิธีการสำคัญ    การเรียนรู้โดยผู้สอนพยายามจัดการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง   ทั้งนี้เพราะการค้นพบความจริง
ใด ๆ ด้วยตนเองนั้นผู้เรียนมักจะจดจำได้ดี   และมีความหมายโดยตรงต่อผู้เรียน   และเกิดความคงทนของความรู้
                                1.3.1.4   เน้นกระบวนการ  (  Process  )   ควบคู่ไปกับผลงาน  (  Product  )  โดยการส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ถึงกระบวนการต่าง  ๆ   ที่จะทำให้เกิดผลงาน  มิใช่มุ่งจะพิจารณาถึงผลงานแต่เพียงอย่างเดียว  เพราะประสิทธิภาพของผลงานขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกระบวนการ
                                1.3.1.5   เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดหาแนวทางที่จะนำความรู้   ความเข้าใจไปใช้ในชีวิตประจำวัน    พยายามส่งเสริมให้เกิดปฏิบัติจริง  และพยายามติดตามผลการปฏิบัติของผู้เรียน
                จากหลักการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   สรุปได้ว่า  ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นไปอย่างมีชีวิตชีวา  ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดยึดการค้นพบด้วยตนเอง   เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเองและจดจำได้ดี   เน้นกระบวนการควบคู่กันไปพร้อมกับผลงานและเน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

2.  การจัดการเรียนการสอนแบบประสานห้าแนวคิดหลัก
                รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบประสานห้า  แนวคิดหลักหรือแบบซิปปา  (  CIPPA  MODEL  ) 
                รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำคัญที่กำลังได้รับความสนใจก็คือการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบซิปปา  CIPPA   หรือแบบประสาน  5   แนวคิดหลักที่พัฒนาโดย  รศดร. ทิศนา    แขมณี    สาระสำคัญของหลักการสอนแบบ  CIPPA     ซึ่งระบุไว้ว่าในการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   จะต้องประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้    ดังนี้
                1.  นักเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้  (  Construction  ) 
                แนวคิดการสรรค์สร้างความรู้   หมายถึง   การส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนวคิดของ 
(  Constructivism   )  การมีโอกาสปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้จากผู้อื่น  (  Interaction  ) 
นักเรียนจะมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความรู้กันภายในกลุ่ม   ในห้องเรียน   
ในโรงเรียน   หรือในชุมชนที่นักเรียนอยู่  เรียกว่าเป็นการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  นอกจากจะได้รับความรู้   ยังมีโอกาสเรียนรู้การอยู่ด้วยกันในสังคมหรือการปฏิสัมพันธ์ทางอารมณ์  คือมีโอกาสรับรู้ความรู้สึกจากสิ่งต่าง ๆ  หรือมีอารมณ์ร่วมต่อเหตุการณ์ได้ด้วยตนเอง
3.  นักเรียนจะต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกาย  (  Physical   Praticipation  )  นักเรียนได้มีโอกาสแสดง
บทบาทในกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเคลื่อนไหวร่างกาย   เพื่อช่วยให้ประสาทรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัว   กระฉับกระเฉง  นักเรียนจะได้มีส่วนร่วมทางร่างกายและเกิดความพร้อมในการเรียนรู้
             4.  นักเรียนจะต้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการ  (  Process   Learning  )        นักเรียนได้มีโอกาส
ใช้กระบวนการเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้  หรือการได้รับความรู้จากการตอบคำถาม  การอภิปราย   การแลกเปลี่ยนความรู้จากเพื่อน   เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ  อันเป็นเครื่องมือที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิตนักเรียนจะต้องมีโอกาสนำความรู้ไปใช้  (  application  )  นักเรียนมีโอกาสนำความรู้ที่สร้างขึ้นเองไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์อื่น ๆ  ที่มีความคล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องกัน   การส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้   นวลจิตต์  เชาวกีรติพงศ์ . 2542  :  16-17  )

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา

                กรมวิชาการ  (  2544  :  64-65  )  กล่าวว่า   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา   มีองค์ประกอบสำคัญ   ดังกล่าว   ครูสามารถเลือกรูปแบบ   วิธีสอน     หรือกิจกรรมใด ๆ ก็ได้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ตามองค์ประกอบทั้ง  การจัดกิจกรรมสามารถจัดกิจกรรมใดก่อน  หลัง ได้โดยมิต้องเรียงลำดับ  และเพื่อให้ครูผู้สอนที่ต้องการนำหลักการของรูปแบบซิปปาได้สะดวก  
รศ. ดรทิศนา     แขมมณี  ได้จัดลำดับขั้นตอนการสอนเป็น  ขั้น  ดังนี้
1.   ขั้นการตรวจสอบความรู้เดิม  ( Cl )

ผู้เรียนแสดงความรู้เดิมของตนที่จำเป็นในการสร้างความรู้ใหม่
ผู้เรียนตรวจสอบและปรับแก้ไขความรู้เดิมของตนให้ถูกต้อง
ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นท้าทายให้ไตร่ตรองเพื่อสร้างความรู้ใหม่
2.  ขั้นการสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม  (  ClPP )
- ผู้เรียนร่วมปฏิบัติกิจกรรมที่มุ่งให้ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมด้วยการลงมือ
กระทำที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
-  ผู้เรียนใช้กระบวนการทักษะ  ในการทำความเข้าใจและสร้างความหมายแก่
ขอมูล  จาก    กาปฏิบัติกิจกรรม
-    ผู้เรียนสรุปและบันทึกข้อค้นพบเกี่ยวกับหลักการความรู้  ความคิดรวบยอด
เป็นความรู้ใหม่ของตน
1.  ขั้นศึกษาความเข้าใจความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม  (  CIPP  )
ผู้เรียนสร้างความหมายของข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่
ผู้เรียนสรุปความเข้าใจแล้วเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
2.  ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ  (  CIPP  )
ผู้เรียนนำเสนอความรู้ใหม่ที่ได้แก่กลุ่ม
ผู้เรียนตรวจสอบความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปทดลองใช้    เพื่อแลกเปลี่ยน  ตรวจสอบ
ขยายประสบการณ์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.  ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้  (  CIPPA  )
ผู้เรียนสรุปประเด็นสำคัญทั้งหมด  ทั้งความรู้ใหม่และเก่า
ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาเรียบเรียงให้ได้ใจความสาระสำคัญครบถ้วน
เพื่อสะดวกแก่การจดจำ
4.  ขั้นแสดงผลงาน  (  CIPPA  )
ผู้เรียนแสดงผลงานการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้    ความเข้าใจของตนเองด้วยการได้รับข้อมูล
ย้อนกลับจากผู้อื่น
5.  ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้  (  CIPPA  )
ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง  ๆ 
ผู้เรียนสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างผลงานต่าง  ๆ
จะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการสอนแบบห้าแนวคิดหลัก    สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้   ทั้งกาย    สติปัญญา   และสังคม    ส่วนการมีส่วนร่วมในด้านอารมณ์นั้น   จะเกิดควบคู่ไปกับทุกด้านอยู่แล้ว    ถ้าผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบดังกล่าว   การจักการเรียนรู้ก็จะมีลักษณะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. การสอนการเขียน
การเขียนคำให้ถูกต้องเป็นสาขาหนึ่งของการเขียน    การเขียนคำเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตประจำวัน   และความเป็นอยู่ของบุคคลในยุคปัจจุบัน   เพราะการเขียนคำให้ถูกต้องจะช่วยให้อ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้ถูกต้อง   ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการเรียนวิชาต่าง ๆและเพื่อการศึกษาในระดับสูง  ๆ  ต่อไป  สุนันท์    จงธนสารสมบัติ.   2525  :  146  )  ซึ่งความเห็นดังกล่าวตรงกับที่    รองรัตน์   อิสรภักดี  และเทือก    กุสุมา  ณ  อยุธยา   กล่าวไว้ว่า   การสอนเขียนคำเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต้องรู้จักการเขียนคำที่ถูกต้องก่อนที่จะเขียนเป็นเรื่องเป็นราวได้   รองรัตน์  อิสรภักดี   และเทือก   กุสุมา  ณ  อยุธยา  .  2526  :  145  )
                ดังนั้นการจะสอนให้เด็กมีความสามารถในการเขียนคำ    จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการเอาใจใส่     ความสนใจจากครูผู้สอน   และส่งเสริมให้นักเรียนมีประสิทธิภาพทางการเขียนให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ดังกล่าว
                รองรัตน์   อิสรภักดี  และ  เทือก    กุสุมา  ณ อยุธยา  (  2526  :  126  )  ได้กล่าวถึงหลักการสอนเขียนต้องคำนึงถึงหลักการต่อไปนี้
                1.  สอนคำที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
                2.  สอนคำที่เด็กสนใจและเข้าใจความหมาย
                3.  ช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อนเป็นพิเศษ  เด็กบางคนยังจำสระและพยัญชนะไม่ได้    ย่อมจะเขียนคำไม่ได้    ดังนั้นครูจำเป็นต้องเอาใจใส่ให้เด็กจำสระและพยัญชนะให้ได้เสียก่อน     นอกจากนี้    เมื่อเด็กเรียนการเขียนคำไปแล้วครูไปพบคำเหล่านี้ในวิชาอื่น    ต้องทบทวนให้เด็กระลึกถึงคำนี้ด้วย    เพื่อให้จำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
    4. ทุกครั้งที่สอนคำใหม่ต้องมีการทบทวนคำเก่าที่เรียนมาแล้วเสียก่อน
    5. การทดสอบต้องทำกันอย่างสม่ำเสมอ    เพื่อจะทราบว่าเด็กมีความสามารถในการเขียน
คำมากน้อยเพียงใด
   6. มีการบันทึกผลงานของเด็กแต่ละคนไว้ตั้งแต่เริ่มแรกเด็กเขียนคำได้มากน้อยเพียงใด    เด็กพัฒนาขึ้นหรือไม่
   7.  ดำเนินการสอนที่ถูกต้องให้แก่เด็ก    โดยช่วยเหลือเด็กเป็นขั้น ๆ ดังนี้
     7.1  ให้เด็กได้ยินคำที่สะกดอย่างชัดเจน
     7.2 ให้เด็กเขียนสะกดคำอย่างระมัดระวัง
      7.3 ให้เด็กอ่านคำที่สะกด
      7.4 ทบทวนคำที่สะกดนั้นว่าถูกต้องหรือไม่
  8.  ครูเขียนคำใหม่ลงในกระดานแล้วให้นักเรียนลอกตาม  ครูต้องเขียนให้ชัดเจน  อ่าน
ง่าย
  9. เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กลอกผิด
 10.  เมื่อสะกดคำไปแล้ว   เด็กคนใดสะกดผิดครูต้องแก้บนกระดานอย่างชัดเจน     อ่านง่าย      
 เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กลอกผิด
 นอกจากนี้   พิทซ์   เจอรัลด์   (  FitZgerald .  1967  :   38  )   ได้เสนอแนะลำดับขั้นการ
เขียนคำไว้ดังนี้
1.   ต้องให้นักเรียนรู้ความหมายของคำนั้นเสียก่อน    โดยครูเป็นผู้บอก   หรือโดยอาศัย
พจนานุกรม  แล้วให้นักเรียนอภิปรายซ้ำ   ข้อสำคัญ  คำนั้นต้องเป็นคำที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
          2.   ต้องให้นักเรียนอ่านออกเสียงคำได้ถูกต้องชัดเจน    จะช่วยให้นักเรียนรู้จักคำนั้นได้แม่นยำยิ่งขึ้นทั้งรูปคำ   และการออกเสียง 
          3   ต้องให้นักเรียนเห็นรูปคำนั้น  ๆ  ว่าประกอบด้วย  สระ   พยัญชนะ   อะไรบ้าง   ถ้าเป็นคำหลายพยางค์   ควรแยกให้เด็กดูด้วย   ถ้าทำได้
          4. ต้องให้นักเรียนลองเขียนคำนั้น ๆ  ทั้งดูแบบและไม่ดูแบบ
        5. ต้องสร้างสถานการณ์ให้นักเรียนนำคำนั้น  ๆ  ไปใช้   ซึ่งอาจใช้ในการเขียนบรรยายเรื่องราว   หรือเขียนในกิจกรรมการเรียนที่เหมาะสมกับวัย
                ฮอร์น     (  Horn .  1954  :  19  -  20  )  ได้เสนอแนะกิจกรรมการสอนเขียนเพื่อให้เด็กสนใจ    และมีทัศนคติที่ดีต่อการสอนเขียนคำ   ไว้ดังนี้
                  1.   ให้นักเรียนได้รู้ถึงคุณค่าในความสามารถของตน ที่จะนำการเขียนคำไปใช้กับวิชาอื่น ๆ
                  2.   ให้นักเรียนเข้าใจถึงการเขียนคำในบทเรียนต่าง ๆ  และมีการแก้ไขได้ถูกต้อง
                  3.  ให้นักเรียนได้ทราบถึงผลการเขียนด้วยตนเอง   ครูเป็นผู้กระตุ้นชี้แนะเท่านั้น
                  4.   ในแต่ละสัปดาห์ครูทำแผนภูมิก้าวหน้าในการเขียนคำของนักเรียนแต่ละคน
                5.   ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตั้งจุดมุ่งหมายของการเขียน     อันจะช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความดิดเห็นและรับผิดชอบอีกด้วย
       6. ครูและนักเรียนควรจะได้แสดงท่าทางประกอบเพื่ออธิบายความหมายของคำให้เข้าใจ
ยิ่งขึ้นด้วย
        7.  นักเรียนที่เก่งได้ช่วยเหลือนักเรียนที่อ่อน
        ไพฑูรย์   ธรรมแสง   (  2519  :  23 -  24  )  ได้เสนอความคิดเห็นว่า วิธีการฝึกเขียน
สะกดคำควรใช้กิจกรรมหลาย ๆ อย่างปนกัน   เช่น
               
                 1.  ก่อนอื่นต้องให้เด็กรู้จุดมุ่งหมายของการเขียนคำ    เพื่อให้เด็กเขียนสะกดคำได้ถูกวรรคตอนและลายมือเป็นระเบียบเรียบร้อย
                
                    2. ให้เด็กรวบรวมคำที่เขียนผิดบ่อย ๆ  จากหนังสือพิมพ์    ป้ายโฆษณา    พร้อมทั้งอธิบายได้ว่าผิดตรงไหน
                      3.  ให้มีการสะกดตัวบนกระดานดำ
                      4.  ให้ช่วยกันเขียนคำยากด้วยอักษรงาม  ๆ    ปิดแผ่นป้ายประกาศในห้องเรียน
                     5.  ผูกคำยากเป็นร้อยกรองให้ท่องจำ
                     6.  ส่งเสริมให้เปิดพจนานุกรมเมื่อสงสัย
                    7.  กำหนดศัพท์ให้เขียนเป็นประโยค   หรือเป็นเรื่องราว
                    8.ใช้กิจกรรมเขียนประกาศ  โฆษณา    ชี้แจงการเขียนรายงาน   เป็นกิจกรรมร่วมกับการ
เขียนคำบอก
             9. ถ้าบอกให้เขียนเป็นเรื่องราว    ต้องให้เด็กทำความเข้าใจเรื่องที่จะเขียนได้อีกด้วยก่อน 
รวมทั้งคำศัพท์ที่ยากด้วย
                 10.  เมื่อเขียนผิด   ชี้แจงให้เด็กทราบว่าผิดอย่างไร    แล้วแก้ไข
                การเขียนคำที่ถูกต้องนั้น คือความสามารถเขียนคำโดยเรียงได้ลำดับพยัญชนะ สระ   วรรณยุกต์  ตัวสะกดได้ถูกต้อง การสอนเขียนคำเป็นทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกฝนจึงต้องใช้กิจกรรมหลายๆ  อย่าง  เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน  และจดจำคำต่าง ๆ ได้แม่นยำ  และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 ในมาตรา 22 ดังนี้

มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545)

               จากสาระตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 มาตรา 22 ดังกล่าว จะเห็นว่าสื่อการเรียนการสอน นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ได้หรือผู้เรียนเป็นสำคัญ สื่อการเรียนการสอนประเภท คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเอง นับว่าเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ทั้งนี้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณสมบัติในการนำเสนอแบบหลายสื่อ (Multimedia) ด้วยคอมพิวเตอร์ และการเรียนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเป็นเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้เรียน

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI) มีผู้สรุปความหมายไว้คล้ายคลึงกันหลายความหมาย ดังต่อไปนี้

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือโปรแกรมช่วยสอน คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอันหนึ่ง CAI คล้ายกับสื่อการสอนอื่น ๆ เช่น วิดีโอช่วยสอน บัตรคำช่วยสอน โปสเตอร์ แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะดีกว่าตรงที่ตัวสื่อการสอน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั้น สามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งเพื่อมาปฏิบัติ ตอบคำถามหรือไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นฝ่ายป้อนคำถาม (นัยนา เอกบูรณวัฒน์, 2539)
                    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted Instruction) หมายถึง การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเสนอแบบติวเตอร์ (Tutorial) แบบจำลองสถานการณ์ (Simulations) หรือ
แบบการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นต้น การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรงไปยังผู้เรียนผ่านทางจอภาพหรือแป้นพิมพ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือโปรแกรมหรือ Courseware ซึ่งปกติจะถูกจัดเก็บไว้ในแผ่นดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่อง
พร้อมที่จะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา การเรียนในลักษณะนี้ ในบางครั้งผู้เรียนจะต้องโต้ตอบ หรือตอบคำถามเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการพิมพ์ การตอบคำถามจะถูกประเมินโดยคอมพิวเตอร์ และจะ
เสนอแนะขั้นตอนหรือระดับในการเรียนขั้นต่อ ๆ ไป กระบวนการเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ (ศิริชัย สงวนแก้ว, 2534)
                      คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรื CAI คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมการเรียน การเรียนการสอนที่ผ่านคอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ตาม กล่าวได้ว่าเป็น
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI มีคำที่ใช้ในความหมายเดียวกันกับ CAI ได้แก่ Computer-Assisted Learning (CAL) , Computer-aided Instruction (CaI) , Computer-aided Learning (CaL) เป็นต้น (Hannafin & Peck, 1988)
                     คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนซีเอไอ (Computer-Assisted Instruction; Computer-Aided Instruction : CAI) คือ การจัดโปรแกรมเพื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อช่วยถ่ายโยงเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียน และปัจจุบันได้มีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกสื่อชนิดนี้ว่า
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน” (วุฒิชัย ประสารสอน, 2543)
                    จากความดังกล่าว สามารถสรุปความหมายของ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ ในโปรแกรมประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ลักษณะของการนำเสนอ อาจมีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียง เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการแสดงผลการเรียนให้ทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียน และยังมีการจัดลำดับวิธีการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละคน ทั้งนี้จะต้องมีการวางแผนการในการผลิตอย่างเป็นระบบในการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่แตกต่างกัน
                     คำภาษาอังกฤษที่ใช้เรียก คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ Computer Assisted Instruction (CAI), Computer Aided Instruction (CAI), Computer Assisted Learning (CAL), Computer Aided Learning (CAL), Computer Based Instruction (CBI), Computer Based Training (CBT), Computer Administered Education (CAE) , Computer Aided Teaching (CAT) แต่คำที่นิยมใช้ทั่วไปในปัจจุบันได้แก่ Computer Assisted Instruction หรือ CAI
                      นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองยังมีลักษณะที่เรียกว่า บทเรียนสำเร็จรูป
แต่เป็นบทเรียนสำเร็จรูปโดยการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางแทนสิ่งพิมพ์หรือสื่อประเภทต่าง ๆ ทำให้บทเรียนสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์มีศักยภาพเหนือกว่าบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบ
อื่น ๆ ทั้งหมดโดยเฉพาะมีความสามารถที่เกือบจะแทนครูที่เป็นมนุษย์ได้มีขั้นตอนการสร้างและ
การพัฒนาบทเรียนเช่นเดียวกับบทเรียนสำเร็จรูปประเภทอื่น ๆ (ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, 2528)
จากลักษณะของสื่อที่เป็น บทเรียนสำเร็จรูปและสื่อที่เป็น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงสามารถสรุปเป็นความหมายของ บทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์การสอน” (Computer
Instruction Package :CI Package ) ว่าหมายถึง บทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นในลักษณะซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) นำไปสอน (Instruction) เนื้อหาใหม่ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนบทเรียนหรือนำเสนอบทเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถของตนเอง ในบทเรียนมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จุดเด่นที่สำคัญของบทเรียน คือ การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะหลายสื่อ (Multimedia) ได้แก่ประเภท ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพวิดีโอ (Video) และเสียง (Audio) โดยที่ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับบทเรียนโดยผ่านเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา 



                                                                         บทที่ 3
วิธีการดำเนินงานโครงงาน

 ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง พัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
        3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
        3.1.2 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น www.google.com
3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน
       3.2.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
       3.2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้อง
ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และบันทึกเก็บข้อมูลที่ได้ศึกษาและค้นคว้าจากเว็บไซต์หรือหนังสือต่างๆ ไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
      3.2.3 ศึกษาการสร้างเว็บบล็อกที่สร้างจากเว็บไซต์หรือหนังสือต่างๆ ที่นำเสนอเทคนิค วิธีการสร้างเว็บบล็อก
      3.2.4 จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
      3.2.5 นำร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ส่งให้ครูที่ปรึกษาโครงงานดูว่าใช้ได้หรือไม่
      3.2.6 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการทำลงใน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) คืออะไร?
                 CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
               คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
              1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
               2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
               3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
               4.การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
                1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
             2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
            3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน

ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
              ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
              ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสม
              การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ
             ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร 



                                                                           บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

จากโครงงานภาษาไทยสะกดคำผลการดำเนินงานที่ได้จากการทดสอบแบบฝึกการเขียนสะกดคำ  ก่อนและหลังฝึกเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้ผลการดำเนินงานวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
           ตารางที่ 1 แสดงคะแนนที่นักเรียนทดสอบจากคะแนนเต็ม  20  คะแนน
ที่
ชื่อ - สกุล

คะแนนสอบก่อนเรียน

คะแนนสอบหลังเรียน

1.
เด็กชายธีรเมธ   ศิริสมบัติ
6
11
2.
เด็กชายชนวีร์   งามขำ
9
10
3.
เด็กชายชยุต      เจริญสุวรรณ             
9
14
4.
เด็กชายศุภกฤษ  เต่ารั้ง
7
10
5.
เด็กหญิงชลธิชา  เหลือเริ่มวงศ์
7
11

                ตารางที่ 2 แสดงคะแนนที่นักเรียนสอบได้จากคะแนนเต็ม  20  คะแนน

ที่
ชื่อ - สกุล

คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน

คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน

1.
เด็กชายธีรเมธ   ศิริสมบัติ
30 %
55 %
2.
เด็กชายชนวีร์   งามขำ
45 %
50 %
3.
เด็กชายชยุต      เจริญสุวรรณ             
45 %
70 %
4.
เด็กชายศุภกฤษ  เต่ารั้ง         
35 %
50 %
5.
เด็กหญิงชลธิชา  เหลือเริ่มวงศ์
35 %
55 %
รวม
32 %
56 %


บทที่ 5
สรุป  อภิปรายและข้อเสนอแนะ

จากโครงงานภาษาไทยสะกดคำนักเรียนที่เขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ของโรงเรียนพระจันทร์ศรีสุข  จำนวน  คน  พบว่าการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำภายหลังการทดลองสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำก่อนทดลอง  ร้อยละ  56  อยู่ในเกณฑ์พอใช้  เพิ่มขึ้น  จากเดิม  ร้อยละ  24  ซึ่งแต่ละคนมีคะแนนสูงขึ้นคือ
                                1.  เด็กชายธีรเมธ   ศิริสมบัติ                    ป.1/1      เพิ่มขึ้นร้อยละ       25
                                2.  เด็กชายชนวีร์   งามขำ                        ป.1/2      เพิ่มขึ้นร้อยละ    5
                                3.  เด็กชายชยุต      เจริญสุวรรณ             ป.1/1      เพิ่มขึ้นร้อยละ      25
                                4.  เด็กชายศุภกฤษ  เต่ารั้ง                       ป1/1      เพิ่มขึ้นร้อยละ       15
                                5.  เด็กหญิงชลธิชา  เหลือเริ่มวงศ์            ป.1/2      เพิ่มขึ้นร้อยละ      20

                ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้  แสดงว่าการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ  ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการเขียนสะกดคำสูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในด้านการเรียนการสอน
     1.1 จากผลการดำเนินงาน พบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากทำให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรได้รับการส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้มีการสร้างแบบ ฝึกโดยวิเคราะห์คำมาก่อนว่าคำใดเป็นคำยากสำหรับนักเรียนและใช้แบบฝึกเข้าช่วยใน การสอนสะกดคำ จะเป็นการช่วยลดภาระและเวลาในการสอนของครูลงไปได้ เพราะ แบบฝึกลักษณะนี้สามารถใช้สอนนอกเวลาได้และเด็กเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคล ได้อีกด้วย
    1.2 การสอนเขียนสะกดคำเป็นเรื่องที่เด็กไม่ค่อยชอบเรียน โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาด้าน การเขียนจะรู้สึกเบื่อหน่ายและวิตกกังวลทุกครั้งที่จะต้องเรียนเรื่องการเขียนสะกดคำ ดัง นั้นครูจึงต้องหาวิธีและรูปแบบที่จะทำบทเรียนให้สนุกสนานน่าสนใจ โดยหากิจกรรม แปลก ๆ ใหม่ ๆ มาประกอบการสอนอยู่เสมอ การใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำจะช่วยแก้ ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องนี้ได้และเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนไม่เบื่อ หน่ายการเรียน ในการสร้างแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษานั้นควรมีรูป ภาพประกอบให้มากและรูปภาพนั้นต้องแจ่มชัดพอที่จะสื่อความหมายได้ตามระดับ ความสามารถของเด็ก แบบฝึกแต่ละชุดไม่ควรให้มีคำมากและใช้เวลาในการทำนานจน เกินไป
  1.3 ในการสอนเขียนสะกดคำ ครูควรเน้นที่ความหมายของคำก่อนเพราะจะช่วยทำให้นัก เรียนเขียนสะกดคำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะคำพยางค์เดียวเพราะมีคำพ้องเสียงอยู่มาก ถ้าครู สอนยังไม่มีแบบฝึกหัด อย่างน้อยควรใช้บัตรคำ บัตรความหมายคำ เปิดโอกาสให้นัก เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย จากการที่ผู้วิจัยสังเกตพบในกลุ่มควบคุม ถ้า ครั้งใดที่ครูผู้สอนใช้บัตรคำและบัตรความหมาย นักเรียนจะสนใจและรู้สึกสนุกสนานที่ จะได้เข้าร่วมกิจกรรมกับครู ดังนั้นครูไม่ควรสอนการเขียนสะกดคำวิธีการให้นักเรียน เขียนตามคำบอกและทำแบบฝึกหัดคำถูก-ผิด เท่านั้น ควรสอนคำและความหมายของคำ ก่อนทุกครั้งที่จะมีการเขียนตามคำบอก จะช่วยให้นักเรียนเขียนสะกดคำได้ดีขึ้น
  1.4 ควรมีการสนับสนุนและร่วมมือกันในกลุ่มครูผู้สอนกลุ่มทักษะภาษาไทย โดยการ สร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำในแต่ละบทเรียน โดยนำคำที่มีความยากปานกลาง ถึงยากมากในบทเรียนนั้น ๆ มาสร้างเป็นแบบฝึก เพื่อให้สัมพันธ์กับคู่มือการสอนภาษา ไทย แบบเรียนภาษาไทย ให้เด็กได้ฝึกในเวลาทำการสอนแต่ละบทเรียน
   1.5 ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการเขียนสะกดคำให้แก่เด็ก และครูทุกคนในโรงเรียนควร ร่วมมือกันแก้ไข ถ้าพบว่าเด็กนักเรียนคนใดเขียนสะกดคำผิดจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะทำให้นักเรียนเกิดความคงทนในคำผิดนั้น ๆ
   1.6 แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากของผู้วิจัยได้สร้างขึ้นนี้ ได้รวบรวมคำยากของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จะต้องเรียนตลอดทั้งปีมาสร้างเป็นแบบฝึก จึงสมควร ใช้แบบฝึกนี้เพื่อสอนซ่อมเสริมนักเรียนตอนปลายปี หรือเลือกสอนเฉพาะแบบฝึกที่ สัมพันธ์กับเนื้อหาในแต่ละบทเรียน
   1.7 ในการทำแบบฝึกแต่ละครั้งของนักเรียน ครูผู้สอนจะต้องเฉลยทันทีและชี้แจงข้อ บกพร่อง ข้อสังเกตในการที่จะแก้ไขและจดจำ เพื่อให้นักเรียนทราบความสามารถของ ตน พร้อมทั้งแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำของตน ให้ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อไปได้
   1.8 ในการสอนเขียนสะกดคำแต่ละครั้ง ควรมีทั้งคำที่ค่อนข้างง่ายจนไปถึงคำยาก ส่วนคำ ที่มีความยากมากครูจะต้องใช้เวลาฝึกให้มากยิ่งขึ้นและควรสอนให้มีความสัมพันธ์กันทั้ง ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยเฉพาะการอ่านสะกดคำจะมีส่วนช่วยให้ นักเรียนเขียนสะกดคำได้ถูกต้องขึ้น

2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
    2.1ควรศึกษาผลความก้าวหน้าในการเขียนสะกดคำจากการสอนซ่อมเสริมเด็กที่อ่อนทาง ด้านการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก
    2.2 ควรศึกษาผลของการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก เปรียบเทียบกับการใช้ เกม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ในการสอนเขียนสะกดคำ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเขียนสะกดคำของนักเรียน





เอกสารอ้างอิง

นายประยงค์  โชติการณ์การทดลองสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนสะกดคำยากกลุ่มทักษะภาษาไทยกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 .  กาฬสินธุ์ , 2533
นางภัทรานิษฐ์  ธรรมศิริรักษ์. การแก้ปัญหาการเขียนคำภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โดยใช้แบบฝึกหัดเขียนไทย.